Karakuri Kaizen® คืออะไร
- เป็นกิจกรรมไคเซ็นที่ดำเนินอยู่ในวงการอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศญี่ปุ่น
- แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหน้างานด้วยไอเดียของพนักงานเอง เช่น
ล้วนเป็นกิจกรรมไคเซ็นที่เกิดจากความรู้สึกที่ว่า
อยากจะปฏิบัติงานของตนได้อย่างปลอดภัยและสบายขึ้น!
จุดเด่นของ Karakuri Kaizen®
กลไกและโครงสร้างไม่ซับซ้อนและเรียบง่าย ไม่ใช้กลไกซับซ้อน เช่น ระบบควบคุมด้วยไฟฟ้า แต่ใช้กลไกเรียบง่าย เช่น คานงัด รอก
ใช้เงินน้อย เนื่องจากไม่ใช้กลไกไฟฟ้า จึงสามารถลดค่าใช้จ่ายวัสดุได้ ซึ่งบางครั้งมีการนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ด้วย
ใช้พลังงานธรรมชาติ (หรือแรงคน) ใช้แรงโน้มถ่วง แรงคน หรือแรงขับเคลื่อนที่ใช้อยู่ในส่วนอื่น
แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหน้างาน แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจริงด้วยมือและไอเดียของตนเอง
ทำไมถึงต้องทำกิจกรรม
Karakuri Kaizen®
แม้ Karakuri Kaizen นั้นจะเป็นกลไกเรียบง่าย แต่กว่าจะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาและใช้ได้จริงก็ต้องใช้เวลามากพอสมควร และถึงแม้จะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่น่าจะสามารถแก้ปัญหาได้โดยนำหุ่นยนต์หรืออุปกรณ์ขั้นสูงมาใช้ ก็ยังทำกิจกรรม Karakuri Kaizen ซึ่งกิจกรรมนี้ได้ขยายกว้างออกไปเรื่อยๆ ทุกปีๆ ถึงขนาดขยายออกไปนอกประเทศญี่ปุ่นด้วย
สถานที่ทำงานที่สามารถทำงานได้อย่างสะดวกสบาย
สถานที่ทำงานที่ผู้หญิงหรือผู้สูงอายุสามารถทำงานได้อย่างสะดวกสบาย ก็คือต้องการขจัดงานที่หนัก สกปรกและอันตรายหรืองานที่ต้องใช้แรงมากให้หมดไป แต่หากนำหุ่นยนต์ไปใช้ในทุกสถานที่ปฏิบัติงานจะทำให้ต้นทุนสูงเกินไป ดังนั้นเรื่องไหนที่สามารถแก้ไขได้ด้วยการทำไคเซ็นเล็กๆ น้อยๆ นั้นจะจัดการด้วย Karakuri Kaizen ที่ต้นทุนต่ำ และจะนำไปสู่การประหยัดพลังงานได้ด้วย
สร้างบุคลากร
กว่าจะให้ Karakuri Kaizen เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา เราต้องเรียนรู้เครื่องจักรและมีความรู้ในการทำไคเซ็น รวมทั้งต้องมีความคิดสร้างสรรค์ที่อยู่บนพื้นฐานของทั้งสองสิ่งนี้ด้วย ซึ่งหากเราสามารถสร้างผลงาน Karakuri Kaizen ได้แล้ว จะทำให้เรารู้สึกถึงความสำเร็จ และมีความอยากที่จะทำต่อไป ดังนั้นจึงมีบริษัทหลายแห่งที่เห็นว่า Karakuri Kaizen นั้นเป็นการ "สร้างบุคลากร"
มีเรื่องอะไรบ้างที่แก้ไขด้วย Karakuri Kaizen®
Karakuri Kaizen เป็นกิจกรรมที่แก้ไขปัญหาหน้างานการผลิตด้วยไอเดียของตนเอง แต่เราจำเป็นต้องเข้าใจและจับจุดให้ได้ว่าเรื่องใดเป็นปัญหาในสถานที่ปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรม โดยสังเกตดูสภาพหน้างานด้วยมุมมองว่ามีความสูญเปล่า ความไม่สม่ำเสมอ หรือการฝืนทำหรือไม่ แม้จะเป็นเรื่องทั่วไปที่เห็นเป็นประจำก็ตาม แต่ถ้าหากเปลี่ยนมุมมองแล้ว น่าจะมองเห็นจุดที่สามารถทำการไคเซ็นได้ไม่น้อย
ขนย้ายและเดิน/หยุดรองาน/ค้นหา/ปรับ เป็นต้น
ไม่คงที่ (เวลา, การปฏิบัติงาน, มาตรฐาน, คุณภาพ) เป็นต้น
งานที่ต้องใช้แรง/ท่าผิดธรรมชาติ/งานที่ต้องใช้ความระมัดระวัง
สภาพแวดล้อมในการทำงาน (สกปรก, เหม็น, เสียงดัง) เป็นต้น